วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

ธุรกิจที่ไม่มีแฟรนไชส์ VS ธุรกิจที่มีแฟรนไชส์

สวัสดีครับเพื่อนๆ ใครคนไหนที่ทำธุรกิจกันอยู่บ้างครับ เพื่อนๆทราบไหมครับว่าธุรกิจประเภทไหนที่มีการอัตราการเติบโตของธุริจที่รวดเร็ว นั่นก็คือธุรกิจประเภทแฟรนไชส์ครับ
ธุรกิจแฟรนไชส์


ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ส่วนทางบริษัทให้สิทธิเครื่องหมายการค้า ซึ่งถ้ายังไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิถือว่าไม่ถูกต้อง ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญหรือ Know How อาจจะเป็นวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอดความรู้ ให้แฟรนไชส์ซีในรูปแบบของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
(ประชาสัมพันธ์ : อาชีพเสริมJoin&Coin อาชีพเสริม อาชีพอิสระ ธุรกิจออนไลน์ ได้เงินจริง ผมพิสูจน์แล้ว ได้ที่นี่)
การจัดธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ กับผู้ที่ต้องการมาลงทุน ซึ่งเป็นธรรมดาเมื่อเป็นธุรกิจก็จะต้องมีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ มาเกี่ยวข้อง ในระบบแฟรนไชส์ก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะเช่นคำว่า
ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น Initial Franchise Fee หรือเรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ที่แฟรนไชส์ซี จะต้องจ่ายให้แก่ เจ้าของแฟรนไชส์
เป็นค่าสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการ หรือเครื่องหมายการค้าหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่มีกำหนด โดยแฟรนไชส์ซอร์ ส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้เป็น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกต่อการทำธุรกิจรวมถึงการอบรมบริการต่างๆ ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดให้แก่แฟรนไชส์ซี
ธุรกิจที่ไม่มีแฟรนไชส์ เป็นยังไงล่ะครับ ก็เป็นจำพวกธุรกิจทั่วไปลงทุนทำแบบเดี่ยวๆ ซึ่งบางทีก็อาจจะเติบโตได้เนื่องจากเป็นที่ผูกขาดของตลาดเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่จดจำของผู้คนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่คุณกำลังมองข้ามไปว่าถ้าคุณเป็นคนนึงที่กำลังจะทำธุรกิจแต่ไม่มีควมรู้หรือยังขาดประสบการณ์การลงธุรกิจประเภทธุรกิจที่ไม่มีแฟรนไชส์นั้นจะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ในด้านการลงทุน การทำการตลาด การสร้างแบรนด์ ซึ่งคุณจะต้องเหนื่อยแบบสุดๆครับ และเสี่ยงต่อการไปไม่รอดมากครับ
ข้อดีของธุรกิจที่มีแฟรนไชส์

1.ขายแฟรนไชส์มีกำไรเท่าตัว

สิ่งที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้อย่างเด่นชัดที่สุดของการนำธุรกิจมาขายในตลาดแฟรนไชส์คงหนีไม่พ้นในเรื่องผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น เพราะการขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์สามารถสร้างอัตราการเติบโตได้แบบทวีคูณ ซึ่งผู้ประกอบการจะมีรายได้เข้ามาในกระเป๋าอย่างน้อยเกือบหนึ่งเท่าตัวต่อการขายแฟรนไชส์ให้กับลูกค้าหนึ่งเจ้าเลยทีเดียว โดยรายรับจะมาจากค่าแฟรนไชส์ที่เปรียบเสมือนเป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้าซึ่งจะมีมูลค่าพอสมควรขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการจะกำหนด ค่าอุปกรณ์ร้านค้า และตกแต่ง (บางครั้งอาจให้เช่าแทนการขายขาด)

2.ขายแฟรนไชส์ลดความเสี่ยงได้มาก

เมื่อขายสิทธิ์แฟรนไชส์แล้ว เรายังได้ค่าขายสินค้าและปัจจัยไปสู่สมาชิกซึ่งถือเป็นรายรับที่เรียกเก็บได้ในระยะยาว จึงเป็นที่จะโอกาสได้รับเงินก้อนั้นได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนขยายสาขาตั้งร้านเองให้เหนื่อยและเสียเวลาในการโปรโมต อีกทั้งผู้ประกอบการยังไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงเรื่องภาระการขาดทุนหากสาขาใหม่ไปไม่รอดอีกด้วย

3.ขายแฟรนไชส์สามารถลดต้นทุน

การที่ผู้ประกอบการใช้ระบบแฟรนไชส์ในการดำเนินธุรกิจจะส่งผลให้ยอดการผลิตเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากยอดสั่งซื้อที่สูงขึ้นตามจำนวนสมาชิก เราจึงจำเป็นต้องป้อนสินค้าไปยังเครือข่ายสมาชิกแฟรนไชส์ของตนให้ครบทุกคน ซึ่งยอดการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นถือเป็นอำนาจในการต่อรองกับผู้ขายปัจจัยการผลิตได้เป็นอย่างดี สามารถขอส่วนลดเป็นเปอร์เซ็นต์หรือขอลดราคาต่อหน่วยให้ถูกลงได้เพราะสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ผู้ขายสินค้าปัจจัยการผลิตมักไม่มีปัญหาเรื่องนี้มากนักและมักยอมลดราคาให้เสมอเพราะได้ยอดสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ต้นทุนที่ถูกลงหมายถึงผลกำไรที่มากขึ้นนั่นเอง

4.แฟรนไชส์โฆษณาตัวเองได้

ปัจจุบันธุรกิจกับการโฆษณาถือเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันอยู่ตลอด นักการตลาดหลายคนทราบดีและมักใช้วิธีโฆษณาเป็นตัวกระตุ้นยอดขายอยู่เสมอ แต่การโฆษณามีราคาที่ต้องจ่ายเป็นไม่น้อยเลยหากต้องการจะเข้าถึงผู้บริโภค ดังนั้นการขยายสาขาด้วยการใช้กลไกเครือข่ายการขายแฟรนไชส์จึงเป็นการโฆษณาที่ไม่ต้องเสียเงินเลยแม้แต่บาทเดียว ซึ่งผลของการโฆษณาผ่านร้านแฟรนไชส์จะได้ผลประสบความสำเร็จได้หากผู้ประกอบการลงไปวางเครือข่ายร้านค้าของสมาชิกให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ

5.ขายแฟรนไชส์ไม่ต้องสร้างธุรกิจใหม่เพื่อนต่อยอด

การต่อยอดธุรกิจด้วยวิธีการสร้างหรือเปิดแนวทางการทำธุรกิจขึ้นมาใหม่ทั้งหมดถือว่ามีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงและสิ้นเปลืองมาก อีกทั้งยังไม่มีอะไรเป็นสิ่งรับประกันความสำเร็จของธุรกิจสาขาใหม่ได้เลย ต่างจากการต่อยอดธุรกิจด้วยวิธีขายแฟรนไชส์อย่างสิ้นเชิง แต่ต้องเข้าใจก่อนว่ากิจการที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อขายแฟรนไชส์ได้ต้องเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในตัวของมันเองและเป็นที่ประจักษ์ได้รับการยอมรับในตัวแบรนด์แล้วจากผู้บริโภค จึงน่าจะประสบความสำเร็จได้รวดเร็วกว่าเมื่อเทียบกันกับการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ทั้งหมด

6.ขายแฟรนไชส์เป็นการสร้างเครือข่ายรองรับเการเติบโตในอนาคต

ด้วยรูปแบบเฉพาะของการขายแฟรนไชส์ที่เป็นระบบเครือข่ายและการเป็นสมาชิก ที่มีผู้ประกอบการอยู่ที่จุดสูงสุดบนยอดของโมเดลการทำธุรกิจรูปทรงพีระมิด ซึ่งสามารถบริหารงานจัดการควบคุมการดำเนินธุรกิจทั้งเครือข่ายให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันเพื่อให้สนับสนุนซึ่งกันและกันทั้งองค์กร โดยสมาชิกแฟรนไชส์ที่อยู่ถัดลงมาของรูปทรงพีระมิดจะเป็นผู้ช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถเติบโตและขยายตัวในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว และยิ่งฐานขยายออกไปกว้างมากขึ้นเท่าไร ธุรกิจก็ยิ่งมั่นคงมากขึ้นเท่านั้น

7.ธุรกิจแฟรนไชส์ขยาตัวอย่างรวดเร็ว

ธุรกิจแฟรนไชส์เปรียบเสมือนเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กิจการของผู้ประกอบการมีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด สามารถมองเห็นความสำเร็จได้ในเวลาอันจำกัด จึงเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก เช่น ประเภทธุรกิจ SME ที่สายป่านทางการเงินไม่ยาวเหมือนบริษัทยักษ์ใหญ่

ธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็นวิธีการต่อยอดที่น่าสนใจมากเพราะสามารถทำได้ในเวลาอันจำกัดและไม่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมหาศาลเหมือนกับการสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ธุรกิจที่จะสามารถใช้การขายแฟรนไชส์ให้กับลูกค้าได้ต้องเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้านอย่างแท้จริง มีแบรนด์ตราสินค้าเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ซึ่งการจะก้าวไปถึงจุดนั้นได้ผู้ประกอบการต้องลงใจเกินร้อยไปในธุรกิจที่ทำ หมั่นคิดค้นและหาเอกลักษณ์จุดเด่นที่แตกต่างแล้วนำมาพัฒนาให้ประสบความสำเร็จให้จงได้ ซึ่งหากเอาชนะอุปสรรคดังกล่าวได้จริง ผู้ประกอบการจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนลงแรงสร้างธุรกิจดังกล่าวอย่างแน่นอน
 ขอบคุณข้อมูลจาก incquity.com
seven eleven
เพื่อนๆคงเห็นแล้วนะครับว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ มันไม่ได้เป็นธุรกิจกระจอกๆ คุณเห็นธุรกิจของ seven eleven ไหมครับซึ่งเค้าก็ทำเป็นเครือข่ายเช่นเดียวกันจึงทำให้สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วและเติบโตเป็นอย่างมากยังมีธุรกิจเล็กๆอีกมากครับที่ผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ โดยจะมีระบบเครือข่ายคอยช่วยทำเงินให้กับคุณ คุณยังมองเครือข่ายแบบแย่ๆอยู่ไหมครับธุรกิจที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วนั้นต้องมีเครือข่ายครับถ้าคุณทำธุรกิจซักตัวแต่คุณไม่มีเครือข่ายลูกค้าคุณจะอยู่ได้ไหมครับและถ้าคุณทำธุรกิจของคุณให้เป็นระบบเครือข่ายเพื่อต่อยอดสินค้าของคุณให้ขยายออกไปเป็นฐานกว้างๆเหมือน 7-11 ยอดขายของจะเติบโตอย่างไม่น่าเชื่อครับและมันจะทำให้คุณไม่ต้องเหนื่อยมากจากการทำธุรกิจด้วยครับเพราะฉนั้น ลบภาพเดิมๆของเครือข่ายในหัวออกไปซะ ก่อนที่ธุรกิจคุณจะตายในอาเซียน เพราะธุรกิจคุณไม่มีเครือข่ายช่วยขยายหรือทำงานแทนคุณ

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประชาคมอาเซียน คืออะไร? ประโยชน์ที่จะได้รับจากประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน คืออะไร หรือ AEC คืออะไร
อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ,ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
โดย อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ
1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
3.มาเลเซีย  โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ)
4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ)
ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ  8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม, 28 ก.ค. 2538  เวียดนาม, 23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว และ พม่า, 30 เม.ย. 2542 กัมพูชา ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
อาเซียน
(ประชาสัมพันธ์ : อาชีพเสริมJoin&Coin อาชีพเสริม อาชีพอิสระ ธุรกิจออนไลน์ ได้เงินจริง ผมพิสูจน์แล้ว ได้ที่นี่)
ประโยชน์ที่ได้รับจากประชาคมอาเซียน
1.ป้องกันความขัดแย้งและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อช่วยส่งเสริมสันติภาพในภูมิภาค
2.ช่วยให้มีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งมีกลไกในการควบคุมการทำงานของภาครัฐให้มีความโปร่งใสยิ่งขึ้น
3.ช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาต่าง ๆ มากขึ้น
4.ช่วยให้ไทยสามารถแก้ไขปัญหาและความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่นภัยพิบัติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์
5.ช่วยสร้างอำนาจต่อรองแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนในเวทีโลกทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง
6.ทำให้ตัวเลขการค้าขายสินค้าเพิ่มพูนสูงขึ้น และผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ในการซื้อสินค้านำเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนในราคาถูกลง
7.ตลาดขนาดใหญ่ของอาเซียนกว่า 600 ล้านคน จะเป็นโอกาสในการขยายการส่งออกสินค้าไทยมากขึ้น
8.ร่วมมือกันปรับระเบียบและกฎเกณฑ์ของอาเซียนที่จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันและขจัดมาตรการกีดกันต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
9.การรวมเป็นตลาดเดียวกันจะช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในภูมิภาค รวมถึงประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างงานและรายได้แก่ประชาชน
10.ช่วยกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ ของไทย อาทิ ภาคธุรกิจ เกษตร ท่องเที่ยว เริ่มปรับตัวเพื่อรับมือกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
11.ช่วยสร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในอาเซียนรวมทั้งประเทศไทย
12.การลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนจะช่วยลดปัญหาการโยกย้ายถิ่นฐานของประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า
13.ช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความยากจนจะลดลง สามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างทั่วถึง มีสวัสดิการทางสังคมที่มั่นคงและมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น
ธุรกิจหลายๆธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น SME หรือธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ จะได้รับประโยชน์จากจุดนี้เป็นอย่างมากครับผมคิดว่าการค้าขายจะครึกครื้นมากขึ้นเพราะตลาดจะเปิดอย่างเสรีครับ คุณล่ะครับมองเห็นประโยชน์ของ อาเซียน หรือ aec แล้วหรือยังครับ

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

การใช้ Facebook บุกตลาด ปี 2014

facebook marketing
เพื่อนๆหลายๆคนคงจะเล่น facebook กันอยู่แล้วนะครับแทบจะทุกคนเลยก็ว่าได้ครับ แล้วเพื่อนๆเคยขายของบน Facebook รึเปล่าครับถ้าเกิดเรามีสินค้าหรือบริการ และต้องการโปรโมท การสร้าง Blogs ควบคู่ไปกับการโปรโมทผ่าน Social Media หรือ บน facebook ก็ตามผมคิดว่าช่วยเพิ่มฐานลูกค้าได้มากขึ้น แล้วเราทำอย่างไรละ สำหรับผม มือใหม่ facebook ก็แค่สร้าง Fanpage ขึ้นมาแล้วก็หาเพื่อนที่มีความสนใจเข้ามากด Like กด Share จากนั้นก็หาบทความดีๆ มา Update  อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องคำนึงว่าสิ่งที่จะ Share ต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน เพราะมันจะให้คนติดตาม fanpage ของคุณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และตลอด
ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลยครับว่ารูปแบบการตลาดในปี 2014 นั้นมีอะไรบ้าง >>คลิกที่นี่<<